ข้อบังคับ
มูลนิธิอนุรักษ์พระราชวังพญาไท ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ
เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี
หมวดที่ 1
ชื่อ เครื่องหมาย และสำนักงานที่ตั้ง
ข้อ 1. มูลนิธินี้ชื่อว่า มูลนิธิอนุรักษ์พระราชวังพญาไท ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี
เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า PHYA THAI PALACE PRESERVATION FOUNDATION UNDER THE ROYAL
PATRONAGE OF H.R.H. PRINCESS BEJARATANA
ข้อ 2. เครื่องหมายมูลนิธิอนุรักษ์พระราชวังพญาไท ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี
เป็นภาพลายเส้นพระราชวังพญาไทสีเงิน อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมพื้น เป็นสีขาบ มีชื่อมูลนิธิอนุรักษ์พระราชวังพญาไท เป็น
ภาษาไทยสองบรรทัด อยู่ด้านล่างเป็นสีเงิน
ข้อ 3. สำนักงานของมูลนิธิ
ตั้งอยู่ที่ พระราชวังพญาไท เลขที่ 315 ถนนราชวิถี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
หมวดที่ 2
วัตถุประสงค์
ข้อ 4. วัตถุประสงค์ของมูลนิธินี้คือ
4.1.เพื่อสนับสนุนให้มีการบูรณะพระราชวังพญาไทให้สง่างามสมกับที่เคยเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ
เกล้าเจ้าอยู่หัว
4.2.เพื่อสนับสนุนการทำกิจกรรมต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อพระราชวังพญาไทและพระราชวังอื่นๆในพระบาทสมเด็จพระ
มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
4.3.เพื่อดำเนินกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
4.4.เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนกิจการงานอนุรักษ์พระราชวังพญาไท
4.5.ดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม
4.6.เพื่อเป็นตัวแทนสมาชิกในการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง
4.7.ดำเนินการหรือร่วมมือกับองค์การการกุศลอื่นๆเพื่อสาธารณะประโยชน์
4.8.ไม่ดำเนินการเกี่ยวกับการเมืองแต่ประการใด
หมวดที่ 3
ทุนทรัพย์ ทรัพย์สิน และการได้มาซึ่งทรัพย์สิน
ข้อ 5. ทรัพย์สินของมูลนิธิมีทุนเริ่มแรกคือ
5.1. เงินสด จำนวน 300,000 บาท ( สามแสนบาทถ้วน )
ข้อ 6. มูลนิธิอาจได้มาซึ่งทรัพย์สิน โดยวิธีต่อไปนี้
6.1. เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้ยกให้โดยพินัยกรรมหรือนิติกรรมอื่นๆ โดยไม่มีเงื่อนไขผูกพันให้มูลนิธิต้องรับผิดชอบใน
หนี้สินหรือภาระติดพันอื่นใด
6.2.เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคให้
6.3. ดอกผลซึ่งเกิดจากทรัพย์สินของมูลนิธิ
6.4. รายได้อันเกิดจากกิจกรรมของมูลนิธิ
หมวดที่ 4
คุณสมบัติและการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการ
ข้อ 7. กรรมการของมูลนิธิต้องมีคุณสมบัติดังนี้
7.1. มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
7.2. ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย หรือไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
7.3. ไม่เป็นผู้ต้องคำพิพากษาให้จำคุก เว้นแต่จะได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
ข้อ 8. กรรมการของมูลนิธิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
8.1. ถึงคราวออกตามวาระ
8.2. ตายหรือลาออก
8.3. ขาดคุณสมบัติตามข้อบังคับข้อ 7.
8.4. เป็นผู้มีความประพฤติและปฏิบัติตนเป็นที่เสื่อมเสีย และคณะกรรมการมูลนิธิมีมติให้ออกโดยมีคะแนนเสียงไม่น้อย
กว่าสามในสี่ของคณะกรรมการมูลนิธิ
หมวดที่ 5
การดำเนินงานของคณะกรรมการมูลนิธิ
ข้อ 9. มูลนิธินี้ดำเนินงานโดยคณะกรรมการมูลนิธิ มีจำนวนไม่น้อยกว่า 7 คน แต่ไม่เกิน 15 คน ประกอบด้วย ประธานกรรมการ
มูลนิธิ รองประธานกรรมการมูลนิธิอย่างน้อย 2 คน เลขานุการมูลนิธิ เหรัญญิกและตำแหน่งอื่นๆตามแต่คณะกรรมการ
มูลนิธิจะเห็นสมควร
ข้อ 10. ในวาระเริ่มแรกให้คณะกรรมการผู้ริเริ่มจัดตั้งมูลนิธิเป็นผู้เลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินงานของมูลนิธิขึ้นคณะหนึ่ง
ประกอบด้วย ประธานกรรมการมูลนิธิ รองประธานกรรมการมูลนิธิ และกรรมการอื่นๆตามจำนวนที่เห็นสมควร ตามข้อบังคับ
ข้อ 11. วิธีเลือกตั้งกรรมการมูลนิธิให้ปฏิบัติดังนี้
ให้คณะกรรมการมูลนิธิชุดดำรงตำแหน่งอยู่ เลือกตั้งประธานกรรมการมูลนิธิรองประธานกรรมการมูลนิธิ และกรรมการ
อื่นๆ ตามจำนวนที่เห็นสมควรตามข้อบังคับ
ข้อ 12. กรรมการดำเนินงานมูลนิธิอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี
ข้อ 13. เพื่อให้การดำเนินงานของมูลนิธิได้เป็นไปโดยติดต่อกัน เมื่อคณะกรรมการดำเนินงานของมูลนิธิได้ปฏิบัติหน้าที่มาครบ
2 ปี ให้มีการจับสลากออกไปหนึ่งในสองของจำนวนกรรมการมูลนิธิที่ได้รับเลือกเป็นกรรมการดำเนินงานของมูลนิธิครั้งแรก
ข้อ 14. การเลือกตั้งคณะกรรมการมูลนิธิ ให้ถือเสียงข้างมากของที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิเป็นมติของที่ประชุม
ข้อ 15. กรรมการมูลนิธิที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระหรือโดยการจับสลากในวาระแรก อาจได้รับเลือกเข้าเป็นกรรมการมูลนิธิได้อีก
ข้อ 16. ถ้าตำแหน่งกรรมการมูลนิธิว่างลง ให้กรรมการมูลนิธิที่เหลือตั้งบุคคลอื่นเป็นกรรมการมูลนิธิแทนตำแหน่งที่ว่าง
กรรมการมูลนิธิผู้ได้รับการแต่งตั้งซ่อมอยู่ในตำแหน่งเท่าวาระของผู้ที่ตนแทน
หมวดที่ 6
อำนาจหน้าที่คณะกรรมการมูลนิธิ
ข้อ 17. คณะกรรมการมูลนิธิมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินกิจการของมูลนิธิ ตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิและภายใต้ข้อบังคับนี้ ให้
มีอำนาจหน้าที่ต่างๆดังต่อไปนี้
17.1. กำหนดนโยบายของมูลนิธิและดำเนินงานตามนโยบายนั้น
17.2. ควบคุมการเงินและทรัพย์สินต่างๆของมูลนิธิ
17.3. เสนอรายงานกิจการ รายงานการเงิน และบัญชีงบดุล รายได้ – รายจ่าย ต่อกระทรวงมหาดไทย
17.4. ดำเนินการให้เป็นไปตามมติที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ แลวัตถุประสงค์ของข้อบังคับนี้
17.5. ตราระเบียบเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของมูลนิธิ
17.6. แต่งตั้งหรือถอดถอนคณะอนุกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง หรือหลายคณะ เพื่อดำเนินการเฉพาะอย่างของมูลนิธิ ภายใน
การควบคุมของคณะกรรมการมูลนิธิ
17.7. เชิญผู้ทรงคุณวุฒิหรือบุคคลที่ทำประโยชน์ให้มูลนิธิเป็นพิเศษ เป็นกรรมการกิตติมศักดิ์
17.8. เชิญผู้ทรงเกียรติเป็นผู้อุปถัมภ์มูลนิธิ
17.9. เชิญผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการมูลนิธิ
17.10. แต่งตั้งหรือถอดถอนเจ้าหน้าที่ประจำมูลนิธิ
มติให้ดำเนินการตามข้อ 17.7. , 17.8. , และ 17.9. ต้องเป็นมติเสียงข้างมากของที่ประชุม
ข้อ 18. ประธานกรรมการมูลนิธิมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
18.1. เป็นประธานของการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ
18.2. สั่งเรียกประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ
18.3. เป็นผู้แทนของมูลนิธิในการติดต่อกับบุคคลภายนอกและในการทำนิติกรรมใดๆของมูลนิธิ หรือการลงลายมือใน
เอกสารข้อบังคับ และสรรพหนังสืออันเป็นหลักฐานของมูลนิธิและในการอรรถคดีนั้นเมื่อประธานกรรมการมูลนิธิ
หรือผู้ทำการแทน หรือกรรมการมูลนิธิ 2 คน ได้ลงลายมือชื่อ แล้วประทับตรามูลนิธิเป็นอันใช้ได้
18.4. ปฏิบัติการอื่นๆตามข้อบังคับและมติของคณะกรรมการมูลนิธิ
ข้อ 19. ให้รองประธานกรรมการมูลนิธิทำหน้าที่แทนประธานกรรมการมูลนิธิ เมื่อประธานไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือในกรณี
ที่ประธานมอบหมายให้ทำการแทน
ข้อ 20. ถ้าประธานกรรมการมูลนิธิและรองประธานกรรมการมูลนิธิไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในการประชุมคราวหนึ่งคราวใด ให้ที่
ประชุมเลือกตั้งกรรมการมูลนิธิคนใดคนหนึ่งเป็นประธานสำหรับการประชุมคราวนั้น
ข้อ 21. เลขานุการมูลนิธิมีหน้าที่ควบคุมกิจการ และดำเนินการประจำของมูลนิธิ ติดต่อประสานงานทั่วไป รักษาระเบียบข้อ
บังคับของมูลนิธิ นัดประชุมกรรมการตามคำสั่งของประธานกรรมการมูลนิธิ หรือ ผู้ทำการแทน และทำรายงานการ
ประชุมตลอดจนรายงานกิจการของมูลนิธิ
ข้อ 22. เหรัญญิกมีหน้าที่ควบคุมการเงิน ทรัพย์สินของมูลนิธิ ตลอดจนบัญชีและเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องและเป็นไปตาม
ระเบียบที่คณะกรรมการมูลนิธิกำหนด
ข้อ 23. สำหรับกรรมการตำแหน่งอื่นๆให้มีหน้าที่ตามที่คณะกรรมการมูลนิธิกำหนด โดยทำเป็นคำสั่งระบุอำนาจหน้าที่ให้ชัดเจน
ข้อ 24. คณะกรรมการมูลนิธิมีสิทธิเข้าร่วมประชุมกรรมการ หรืออนุกรรมการอื่นๆของมูลนิธิได้
หมวดที่ 7
อนุกรรมการ
ข้อ 25. คณะกรรมการมูลนิธิอาจแต่งตั้งหรือถอดถอนอนุกรรมการได้ตามความเหมาะสม โดยจะแต่งตั้งให้เป็นอนุกรรมการ
ประจำ หรือเพื่อการใดเป็นกรณีพิเศษเฉพาะคราวก็ได้และในกรณีที่คณะกรรกมารมูลนิธิไม่ได้แต่งตั้งประธานอนุกรรม
การ เลขานุการ หรืออนุกรรมการในตำแหน่งอื่นๆไว้ ก็ให้อนุกรรมการแต่ละคณะแต่งตั้งกันเองดำรงตำแหน่งดังกล่าวได้
ข้อ 26. อนุกรรมการอยู่ในตำแหน่งจนกว่าจะเสร็จงานที่ได้รับหมอบหมายให้กระทำ ส่วนคณะอนุกรรมการประจำที่อยู่ในตำแหน่ง
ตามวาระที่คณะกรรมการมูลนิธิกำหนด ซึ่งถ้ามิได้กำหนดไว้ก็ให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าวาระของคณะกรรมการมูลนิธิซึ่งเป็น
ผู้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการที่พ้นจากตำแหน่งอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้
26.1. อนุกรรมการมีหน้าที่ดำเนินการตามที่คณะกรรมการมูลนิธิมอบหมาย
26.2. อนุกรรมการมีหน้าที่เสนอความเห็นต่อคณะกรรการมูลนิธิเกี่ยวกับงานที่ได้รับมอบหมาย
หมวดที่ 8
การประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ
ข้อ 27. คณะกรรมการมูลนิธิจะต้องจัดให้มีการประชุมสามัญประจำปีทุกๆปี ภายในเดือนมีนาคม และต้องมีกรรมการมูลนิธิเข้า
ประชุมอย่างน้อยกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
ข้อ 28. การประชุมวิสามัญอาจมีได้ในเมื่อประธานกรรมการมูลนิธิ หรือเมื่อคณะกรรมการมูลนิธิตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป แสดงความ
ประสงค์ไปยังประธานกรรมการมูลนิธิ หรือผู้ทำการแทนขอให้มีการประชุมก็ให้เรียกประชุมวิสามัญได้
ข้อ 29. กำหนดการประชุมและองค์ประชุมของคณะอนุกรรมการให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการมูลนิธิจะกำหนด ซึ่งถ้ามิได้
กำหนดไว้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกำหนดการประชุม ให้คณะอนุกรรมการตกลงกันเอง และในส่วนที่เกี่ยวกับองค์ประชุมให้
ใช้ข้อ 27 บังคับโดยอนุโลม
ข้อ 30. ในการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิหรืออนุกรรมการ หากมิได้มีข้อบังคับกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น มติของที่ประชุมให้ถือ
เอาคะแนนเสียงข้างมาก ในกรณีที่มีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุม เป็นผู้ชี้ขาด กิจการใดที่เป็นงานประจำ
หรือเป็นกิจการเล็กน้อย รองประธานกรรมการมูลนิธิคนที่ 1มีอำนาจสั่งให้ใช้วิธีสอบถามมติทางหนังสือแทนการเรียก
ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ แต่รองประธานกรรมการมูลนิธิ คนที่ 1 ต้องรายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิในคราว
ต่อไป ถึงมติและกิจการ ที่ได้ดำเนินการไปตามมตินั้น กิจการใดเป็นงานประจำ หรือเป็นกิจการเล็กน้อยหรือไม่ ย่อมอยู่
ในดุลยพินิจของรองประธานกรรมการมูลนิธิคนที่ 1
ข้อ 31. ในการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิหรือคณะอนุกรรมการ ประธานกรรมการมูลนิธิหรือประธานที่ประชุมมีอำนาจเชิญหรือ
อนุญาตให้บุคคลที่เห็นสมควรเข้าร่วมประชุมในฐานะแขกผู้มีเกียรติ หรือผู้สังเกตการณ์ หรือเพื่อชี้แจง หรือเพื่อให้คำ
ปรึกษาแก่ที่ประชุมได้
หมวด 9
การเงิน
ข้อ 32. ทรัพย์สินของมูลนิธิในส่วนที่เ ป็นเงินหรือเอกสารสิทธิให้นำฝากธนาคาร หรือสถาบันการเงินแล้วแต่คณะกรรมการมูลนิธิ
จะเห็นสมควร หรือซื้อพันธบัตรรัฐบาล หรือ ซื้อพันธบัตรรัฐวิสาหกิจซึ่งมีรัฐบาล ค้ำประกัน หรือจัดการอย่างหนึ่งอย่าง
ใด โดยมีหลักฐานประกันความมั่นคงตามที่คณะกรรมการมูลนิธิเห็นสมควร ทั้งนี้เพื่อให้ได้มาซึ่งดอกผลเป็นค่าใช้จ่าย
ของมูลนิธิตามวัตถุประสงค์ และเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานมูลนิธิ
ข้อ 33. ประธานกรรมการมูลนิธิมีอำนาจสั่งจ่ายเงินได้คราวละไม่เกิน 100,000 บาท ( หนึ่งแสนบาทถ้วน ) ถ้าเกินกว่าจำนวนดัง
กล่าว ต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการมูลนิธิโดยเสียงข้างมาก เว้นแต่กรณีจำเป็นและเร่งด่วนให้อยู่ในดุลยพินิจของ
ประธานกรรมการมูลนิธิที่จะอนุมัติให้จ่ายได้ แล้วต้องรายงานให้คณะกรรมการมูลนิธิทราบในการประชุมคราวต่อไป ใน
กรณีที่ประธานมูลนิธิไม่อยู่ให้ประธานกรรมการมูลนิธิมอบหมายอำนาจให้กับรองประธานกรรมการท่านใดท่านหนึ่งทำ
การแทน
ข้อ 34. เหรัญญิกมีอำนาจเก็บรักษาเงินสดได้ครั้งละไม่เกิน 10,000 บาท ( หนึ่งหมื่นบาทถ้วน )
ข้อ 35. การสั่งจ่ายเงินโดยเช็คหรือตั๋วสั่งจ่ายเงิน ต้องมีลายมือชื่อประธานกรรมการมูลนิธิ หรือรองประธานกรรมการท่านใดท่าน
หนึ่ง กับเหรัญญิกหรือเลขานุการมูลนิธิ ลงนาม อย่างน้อย 2 ชื่อทุกครั้ง จึงจะเบิกจ่ายได้
ข้อ 36. ให้มีผู้สอบบัญชีของมูลนิธิ ซึ่งคณะกรรมการมูลนิธิเห็นชอบและแต่งตั้งจากบุคคลที่มิใช่กรรมการหรือเจ้าหน้าที่ของ
มูลนิธิ โดยจะให้ดำรงตำแหน่งกิตติมศักดิ์ หรือได้รับค่าตอบแทนอย่างไรสุดแต่ที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิจะกำหนด
ข้อ 37. ผู้สอบบัญชีมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบบัญชีของมูลนิธิ และรับรองบัญชีงบดุลประจำปีที่คณะกรรมการมูลนิธิจะต้องรายงาน
ต่อกระทรวงมหาดไทย ผู้สอบบัญชีมีสิทธิ์ ตรวจสอบบัญชีและเอกสารที่เกี่ยวข้องตลอดจนสอบถามกรรมการมูลนิธิและ
เจ้าหน้าที่ของมูลนิธิในเรื่องใดๆที่เกี่ยวกับการเงิน การบัญชีและเอกสารดังกล่าวได้
หมวดที่ 10
การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ
ข้อ 38. การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับจะกระทำได้เฉพาะที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ ซึ่งต้องมีกรรมการมูลนิธิเข้าประชุมไม่น้อย
กว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการทั้งหมด และมติให้แก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อบังคับ ต้องประกอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อย
กว่าสองในสามของจำนวนกรรมการที่เข้าประชุม
หมวดที่ 11
การเลิกมูลนิธิ
ข้อ 39. ถ้ามูลนิธิต้องเลิกล้มไปโดยมติของคณะกรรมการหรือโดยสาเหตุใดก็ตาม ทรัพย์สินทั้งหมดของมูลนิธิที่เหลืออยู่ให้ตก
เป็นกรรมสิทธิ์แก่มูลนิธิมหาวชิราลงกรณ เพื่อใช้ในการบูรณะพระราชวังพญาไท
ข้อ 40. การสิ้นสุดของมูลนิธินั้น นอกจากที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว ให้มูลนิธิเป็นอันสิ้นสุดโดยมิต้องให้ศาลสั่งด้วยเหตุต่อไปนี้
40.1.เมื่อมูลนิธิได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลแล้วไม่ได้รับทรัพย์สินตามคำมั่นเต็มจำนวน
40.2.เมื่อกรมการมูลนิธิจำนวนสองในสามมีมติให้ยกเลิก
40.3.เมื่อมูลนิธิไม่อาจหากรรมการได้ครบตามจำนวนกรรมการที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
40.4.เมื่อมูลนิธิไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ
หมวดที่ 12
บทเบ็ดเตล็ด
ข้อ 41. การตีความในข้อบังคับของมูลนิธิ หากเป็นที่สงสัยให้คณะกรรมการมูลนิธิโดยเสียงข้างมากของจำนวนกรรมการที่มีอยู่
เป็นผู้ชี้ขาด
ข้อ 42. ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมูลนิธิมาใช้บังคับ ในเมื่อข้อบังคับของมูลนิธิมิได้กำหนดไว้
ข้อ 43. มูลนิธิจะต้องไม่กระทำการค้ากำไร และจะต้องไม่ดำเนินการนอกเหนือไปจากข้อบังคับที่กำหนดไว้
ลงนาม พลโท......ธำรงรัตน์ แก้วกาญจน์.........ผู้ขอจดข้อบังคับ
( ธำรงรัตน์ แก้วกาญจน์ )
ประธานมูลนิธิฯ
|