ประกาศนียบัตรเคหะสถานดุสิตธานี เพื่อส่งเสริมให้รู้จักดูแลบ้านเรือน |
ภาพคลองมิ่งเมืองที่กั้นเขตระหว่าง อำเภอดุสิตทางขวา และคลองปากน้ำทางซ้ายมือ |
ดุสิตธานีออกหนังสือพิมพ์รายวันสองฉบับ และรายสัปดาห์ หนึ่งฉบับ เนื่องด้วยพระองค์ท่านทรงห่วงใยและทรงตระหนักในพระทัยว่ามาตรฐาน การหนังสือพิมพ์ของ ไทยยังต้องปรับปรุง ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกที่พระองค์ท่านทรงเอาพระทัยใส่หนังสือพิมพ์ของดุสิต ธานีเป็นพิเศษและทรงรับหน้าที่เป็นบรรณาธิการองค์หนึ่งของหนังสือพิมพ์ดุสิต สมิต ซึ่งมีขนาด ๑๒ หน้า ประกอบด้วยบทความกวีนิพนธ์ และภาพวาด ทั้งยังทรงมีพระราชนิพนธ์ลงพิมพ์ด้วยอย่างสม่ำเสมอ เช่น เรื่อง หัวใจชายหนุ่ม ซึ่งแสดงความรู้สึกนึกคิดของหนุ่มไทยคนหนึ่งที่กลับมาบ้านเกิดเมืองนอน หลังจากได้ไปศึกษาต่างประเทศเป็นเวลานาน ทรงนิพนธ์เป็นเรื่องยาวถึง ๑๐ ตอน ลงในหนังสือดุสิตสมิต เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐ บุคคลนอกวงการบางคนที่ทราบว่าพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานธรรมนูญลักษณะปกครองสำหรับเมืองดุสิตธานี เริ่มมีกำลังใจและคาดหวังว่าพระองค์จะทรงมีแนวคิดเดียวกันในระดับชาติ แต่การณ์มิได้เป็นเช่นนั้น ถึงแม้ว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯจะมีพระราชดำริโน้มเอียงในทางประชาธิปไตย ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่หัวโบราณยังยืนกรานไม่เห็นชอบด้วย เสนาบดีท่านหนึ่งทูลเกล้าฯถวายความเห็นว่า “พลเมืองยังขาดความรู้ความเข้าใจ... ผู้ที่ต้องการให้มีรัฐสภาคิดได้แต่ประโยชน์ของตนเองยิ่งกว่าประโยชน์ของบ้าน เมือง” แม้ในแวดวงของดุสิตธานี ก็มีปัญหาในการเปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหัน เมื่อพระเจ้าอยู่หัวทรงพยายามเป็นพลเมืองธรรมดาๆคนหนึ่ง โดยใช้ชื่อ นายราม ณ กรุงเทพ มีอาชีพเป็นเนติบัณฑิต ทวยนาครทั้งหลายไม่อาจเล่นบทตามพระองค์ท่านได้จึงต้องถวายตำแหน่งเชษฐบุรุษ พิเศษยกให้เป็นที่ปรึกษาของรัฐบาล เมืองดุสิตธานียุติบทบาทเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. ๒๔๖๘ เมื่อพระชนฉายเพียง ๔๔ ปี เมืองจำลองถูกรื้อถอน อาคารบ้านเรือนหลายหลังเจ้าของขนย้ายออกไป ส่วนที่เหลือก็ปล่อยให้ขึ้นราอยู่ในห้องเก็บของ ที่หอวชิราวุธานุสรณ์ในบริเวณ หอสมุดแห่งชาติอาคาร แห่งนี้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงสิ่งของต่าง ๆในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยเฉพาะ ที่นี่มีอาคารจากดุสิตธานีที่ซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์สองสามหลังพร้อม ด้วยภาพถ่ายจากสมัยนั้นที่พอจะจินตนาการได้ว่าอาณาบริเวณและมนต์เสน่ห์ของ โลกเมื่อเกือบหนึ่งศตวรรตมาแล้วเป็นเช่นไร |
พระตำหนักเฟต์ราบานี
เรือนมหิธร เรือนพักอาศัยของ สกุล“ไกรฤกษ์” ในเมืองดุสิตธานี |